วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

1 สิงหาคม 2557 วันคล้ายวันสถาปนา"ช่างกลปทุมวัน"ครบรอบ 82 ปี เรียนเชิญพี่น้องผองเพื่อนร่วมงาน แล้วพบกันครับ


ไม่ใช่ตำนานที่ผู้คนกล่าวขาน เเต่คือ ตำนานที่ยังมีลมหายใจเเละมีตัวตน
#ช่างกลปทุมวัน ครบรอบ ๘๒ ปี

Cathodic Protection Test Site

ประวัติความเป็นมา
Cathodic Protection Test Site ได้เปิดอย่างเป็นทางการ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการมาเป็นประธานในพิธีเปิด เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2556 พร้อมทั้งมีแขกผู้มีเกียรติที่อยู่ในวงการ Corrosion และ Cathodic Protection ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ให้เกียรติมาร่วมในพิธีเปิดในวันดังกล่าวจำนวนมาก
ศูนย์ทดสอบ หรือ Test Site นี้เป็น Cathodic Protection Test Site แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งได้รับการออกแบบจาก NACE International โดยคุณมงคล มหาวงศ์ตระกูล Corrosion Engineer, San Francisco, USA  วิศวกรที่มีความรู้และประสบการณ์ทำงานในด้านนี้มาอย่างยาวนาน เพื่อให้เป็น Test Site ที่มีความสมบูรณ์แบบสำหรับการเรียนรู้ด้าน Cathodic Protection ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับที่สูงขึ้น
สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ต้องขอขอบคุณ ฯพณฯ กร  ทัพพะรังสี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ ท่านเป็นผู้ที่มีส่วนที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการช่วยผลักดันให้เกิดการจัด ตั้งศูนย์ทดสอบแห่งนี้ และต้องขอขอบคุณ คุณมงคล มหาวงศ์ตระกูล ศิษย์เก่าช่างกลปทุมวัน (สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน) ที่เป็นผู้ติดต่อประสานงาน ระดมแหล่งเงินทุนและอุปกรณ์สนับสนุนต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เพื่อนำมาสร้างศูนย์ทดสอบแห่งนี้จนประสบความสำเร็จในวันนี้
หน่วยงานที่มีส่วนร่วมบริจาคสนับสนุนเงินทุนและอุปกรณ์สนับสนุน

วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การอบรมหลักสูตรการป้องกันการกัดกร่อนของโลหะใต้ดิน



สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน จะเปิดอบรมหลักสูตรการป้องกันการกัดกร่อนของโลหะใต้ดินโดยใช้หลักการของ Cathodic Protection ให้แก่บุคคลภายนอกหรือผู้สนใจทั่วไป ผู้เข้าอบรมควรมีพื้นฐานความรู้ในด้านการวัดไฟฟ้า อาจเป็นอาจารย์ หรือช่างเทคนิค วิศวกร หรือ Project Manager ซึ่งเกี่ยวข้องกับการออกแบบหรือติดตั้งในวงงานอุตสาหกรรม การอบรมจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 15 - 18 กันยายน 2557 ภายในสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน 


 
 วิทยากรบรรยายคือ นายมงคล มหาวงศ์ตระกูล วิศวกรการกัดกร่อนจากนครซานฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีประสบการณ์การทำงานในด้านนี้เป็นเวลา 25 ปี ผู้เข้าอบรมจะได้รับความรู้ด้านทฤษฎีเกี่ยวกับการกัดกร่อนของโลหะ การเลือกใช้วัสดุที่ถูกต้อง การเลือกใช้สีชนิดต่างๆ การใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อป้องกันการกัดกร่อน การคำนวณปริมาณของอาโหนดที่ใช้ในระบบ Cathodic Protection ผู้เข้าอบรมจะเข้าใจทฤษฎีของไฟฟ้ากระแสจรจัดและการป้องกันการเกิด Stray Current ผู้เข้าอบรมทุกท่านจะมีโอกาสทำการทดลองในภาคสนาม โดยใช้ Cathodic protection Test Site ภายในสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ซึ่งถูกออกแบบตามมาตรฐานสากลของ NACE International ด้วย ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป รับจำนวนจำกัด



ดาวน์โหลดรายละเอียดโครงการ



http://www.ptwit.ac.th/corrosion/

  ดาวน์โหลดใบสมัคร PDF หรือ MS-WORD

วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

พี่มงคล มหาวงศ์ตระกูล สำเร็จการศึกษาแผนกช่างไฟฟ้าจากวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน

บทสัมภาษณ์ : คุณมงคล มหาวงศ์ตระกูล



วิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันการกัดกร่อน (Corrosion Engineer) 
สิ่งหนึ่งที่วิศวกรไม่ควรมองข้ามในการออกแบบและการก่อสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของสาธารณูปโภค อาคาร หรือสิ่งก่อสร้างต่างๆ คือ การกัดกร่อนของวัสดุ หรือภาวะที่วัสดุทำปฏิกิริยากับสภาพแวดล้อม ทำให้ เกิดการเสื่อมสภาพ ปัญหาการกัดกร่อนของวัสดุสามารถพบเห็นได้ใน ชีวิตประจำวัน และมีผลกระทบทั้งต่อด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และในบางครั้งยังนำไปสู่การสูญเสียชีวิตได้
รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฉบับนี้ ขอแนะนำให้ผู้อ่าน ได้รู้จักกับ คุณมงคล มหาวงศ์ตระกูล วิศวกรด้านการกัดกร่อน (Corrosion Engineer) จาก San Francisco Public Utilities Commission (SFPUC) นครซานฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา คุณมงคลฯ เป็นคนไทยอีกท่านหนึ่ง ที่ทำงานและใช้ชีวิตอยู่ในสหรัฐฯ เป็น เวลานานกว่า 33 ปี แต่ความรักที่มีต่อประเทศไทยและความมุ่งมั่นที่จะ ตอบแทนบุญคุณประเทศบ้านเกิดซึ่งเป็นสิ่งที่คุณมงคลฯ ยึดมั่นตลอดมา

คุณมงคล มหาวงศ์ตระกูล

คุณมงคลฯ สำเร็จการศึกษาแผนกช่างไฟฟ้าจากวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน และศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากเทคนิคไทย-เยอรมัน (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2522  ได้รับเลือกเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนในโครงการ IASTE ที่บริษัท Castle & Cooke (Dole Pineapple) เป็นเวลา 18 เดือน จากนั้นได้เข้าทำงานเป็น Electronics Instructor ที่ Bauder College และที่ Westland College เป็นเวลาทั้งสิ้น 5 ปี ในปี พ.ศ. 2529 ได้เข้าทำงานในตำแหน่ง Instrumentation & Control Technician ที่ Rancho Seco Nuclear Power Plant ในเมืองหลวงของรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นเวลามากกว่า 4 ปี ทำหน้าที่ติดตั้งและซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในห้องปฏิกรณ์ปรมาณู (Nuclear Reactor) เป็นคนไทยผู้หนึ่งที่มีโอกาสได้สัมผัสกับ Nuclear Reactor ทั้งในขณะ Hot Shutdown และ Cold Shutdown (ข้อมูลเพิ่ม: เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูของ Rancho Seco Nuclear Generating Station เป็น Pressurized Water Reactor สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 913 เมกกะวัตต์ หรือเทียบเท่ากระแสไฟฟ้าสำหรับ 916,000 ครอบครัว)
ในปีพ.ศ. 2533 ได้รับการบรรจุเป็นวิศวกรไฟฟ้าจาก City & County of San Francisco โดยมุ่งเน้นไปที่การป้องกันการ กัดกร่อนของโลหะ National Association of Corrosion Engineers (NACE International) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระในสหรัฐอเมริกา ได้มอบใบประกอบอาชีพพิเศษให้คุณมงคลฯเป็น NACE Certified Cathodic Protection Specialist  ในปี พ.ศ. 2547 คุณมงคลฯ ได้รับรางวัล Engineering Recognition Award จาก American Public Work Association (APWA) Northern California Chapter ในฐานะที่เป็นผู้ผลักดัน Corrosion Protection ให้เกิดขึ้นใน City & County of San Francisco และในปี พ.ศ. 2551 ก็ได้รับรางวัล O’Shaughnessy Award ซึ่งเป็นรางวัลวิศวกรดีเด่นของ San Francisco Public Utilities Commission
คุณมงคลฯ ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมร่วมกับสำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา (OSTC) และทบวงมหาวิทยาลัย เพื่อช่วยถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีด้านการป้องกันการกัดกร่อน ให้แก่บุคคลากรภายในประเทศไทยมาเป็นเวลากว่า 15 ปี โดยการจัดการอบรมเชิงสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการกัดกร่อนของวัสดุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการป้องกันการกัดกร่อนแบบ Cathodic Protection โดยมีผู้เข้ารับการอบรมจากหลายมหาวิทยาลัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และอื่นๆ  นอกจากนั้น คุณมงคลฯ ยังเป็นตัวแทน ของสมาคมนักวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา (Association of Thai Professionals in America and Canada – ATPAC) ซึ่งพาผู้เชี่ยวชาญอเมริกันไปตรวจสอบการกัดกร่อนของอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน และปัญหาอันเกิดจากกระแสจรจัด (Stray Current Interference) ระหว่างรถไฟฟ้าใต้ดินและท่อโลหะใต้ดินอื่นๆซึ่งอยู่ใกล้กับอุโมงค์รถไฟฟ้า  หน่วยงานซึ่งร่วมโครงการตรวจสอบอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินมีดังนี้คือ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) บริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ บริษัทรถไฟฟ้าลอยฟ้าบีทีเอส การประปานครหลวง และบริษัทท่อส่งปิโตรเลียมจำกัด 
ในวันที่ 28 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555 คุณมงคลฯ จะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้สู่ประเทศไทย ในหัวข้อเรื่อง “โครงสร้างที่ยาวนาน ตั้งต้นจากการป้องกันการกัดกร่อน (Corrosion Protection and Asset Management)”  ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยผู้เข้าร่วมการอบรมจะประกอบด้วยนักวิชาการ วิศวกรการออกแบบ คณาจารย์ จากมหาวิทยาลัย และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการซ่อมบำรุงและช่างเทคนิคซึ่งเกี่ยวข้องกับการป้องกันการกัดกร่อนของโลหะ จากหน่วยงาน กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง คุณมงคลฯ ได้ถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานและทัศนคติจากมุมมองของคนไทยในต่างแดนผ่านบทสัมภาษณ์ ดังต่อไปนี้ ขอเชิญท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับคุณมงคลฯ กันเลยค่ะ
ขอให้คุณมงคลฯ ช่วยเล่าถึงโครงการที่คุณมงคลฯ รับผิดชอบ และดูแลอยู่ในขณะนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ผมเป็นหัวหน้ากลุ่ม Corrosion Engineer ประจำนครซานฟรานซิสโก ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐบาล มาเป็นเวลา 22 ปี งานหลักของผมคือการออกแบบและการติดตั้งระบบการป้องกันการกัดกร่อนของท่อโลหะใต้ดิน แท้งค์เก็บน้ำขนาดใหญ่ อุปกรณ์ ภายในโรงงานบำบัดน้ำดื่มและบำบัดน้ำเสีย  การออกแบบจะ เริ่มจากการเลือกวัสดุให้ถูกต้องกับสภาพแวดล้อม การใช้สีเคลือบ ที่ถูกต้อง การใช้ศักย์ไฟฟ้า (หรือระบบ cathodic protection) และกรรมวิธีอื่นๆอีกมากมายเพื่อควบคุมการกัดกร่อนโดยทั่วไป กลุ่ม  Corrosion Engineer ของผมจะทำการออกแบบเอง โดยที่ผม เป็นผู้อนุมัติการออกแบบ แต่ถ้าเป็นโครงการยากๆ ซึ่งเราทำเอง ไม่ได้ เราก็จะจ้างบริษัท Corrosion Consultant มาช่วย ซึ่งผมทำหน้าที่เป็น Corrosion Control Contract Manager ให้กับหน่วยงานของผม   มีหน้าที่ประสานงานและควบคุมการ ออกแบบของบริษัท Corrosion Consultant 3 บริษัทดังนี้คือ บริษัท Corrpro บริษัท HDR/Schiff และบริษัท JDH Corrosion Consultants

<<รูปภาพของท่อน้ำใต้ดินระเบิด

การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี และ ความรู้สู่ประเทศไทยในเดือน สิงหาคม 2555 มีหัวข้อคือ “โครงสร้าง ที่ยาวนาน ตั้งต้นจากการป้องกันการกัดกร่อน (Corrosion Protection and Asset Management)  ขอให้คุณมงคลฯ ช่วยอธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้วัสดุถูกกัดกร่อน ผลที่อาจจะเกิดขึ้น และการป้องกันการกัดกร่อนมีความสำคัญอย่างไรคะ
วัสดุทุกชนิดสามารถเกิดการผุกร่อนได้เมื่อทำปฏิกิริยากับ สิ่งแวดล้อม  เหล็กกล้าไร้สนิม (stainless steel) ก็ผุกร่อนได้ ถ้าหากขาดออกซิเจน การออกแบบจึงควรหลีกเลี่ยงการเอา stainless steel ไปฝังในดิน  เหล็กกล้าคาร์บอนถ้าเจอความชื้น ก็เกิดเป็นสนิมได้  ถ้าเหล็กกล้าคาร์บอนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มี ความเป็นด่าง มันจะเกิดเป็นสนิมได้ช้า  การเคลือบท่อเหล็กด้วย ปูนซีเมนต์จึงสามารถป้องกันท่อเหล็กไม่ให้เป็นสนิมได้  ถ้าหากท่อเหล็กถูกฝังในดินซึ่งมีสภาพความเป็นกรดสูง (High pH) ท่อเหล็กนั้นก็จะเกิดเป็นสนิมอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีโลหะ บางชนิด ยกตัวอย่างเช่น อลูมิเนียม ก็จะเกิดการผุกร่อนได้เมื่อ อยู่ในกรดและในด่าง  ในการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ผมจะกล่าวถึงการลงทุนโดยการใช้หลักการป้องกันการกัดกร่อน  เพื่อให้โครงสร้างที่สร้างขึ้นมีอายุการใช้งานที่ยืนยาวขึ้น


 << รูปภาพแสดงถึงการเกิดสนิมในเหล็กเส้นของเสาคอนกรีต

การกัดกร่อนของวัสดุสามารถพบได้ที่ไหนในประเทศไทย และส่ง ผลกระทบอะไรกับประเทศและประชาชนบ้าง
ความเสียหายจากการกัดกร่อนของโลหะมีอยู่ทั่วไปใน ประเทศไทย ประชาชนตามบ้านเรือนได้ใช้แท้งค์น้ำ (Stainless Steel) ในการเก็บกักน้ำดื่ม โดยยังเข้าใจผิดๆ ว่าแท้งค์น้ำ เหล่านี้จะไม่เกิดการผุกร่อน  แท้จริงแล้ว น้ำดื่มในกรุงเทพฯ จะมีคลอรีนเป็นตัวฆ่าเชื้อโรค ตัวถังเก็บน้ำ ส่วนใหญ่จะทำจาก SS-304 ซึ่งไม่สามารถทนคลอรีนได้ ตัวถังจึงเกิด Pitting และรั่ว ไปในที่สุด  การเลือกใช้ชนิดของสีในโรงงานอุตสาหกรรมก็มี ความสำคัญมาก  ผู้มีความเข้าใจเรื่องสีจะทราบถึงความสำคัญ ของการเลือกใช้ชนิดของสีที่ถูกต้อง กระแสจรจัดจากระบบ ไฟฟ้าของ cathodic protection หรือรถไฟฟ้าใต้ดินก็สามารถ ทำให้ท่อใต้ดินรั่วได้ ในบางครั้งก็สามารถระเบิดและเกิด เพลิงไหม้ได้

<< รูปภาพแสดงถึงการถล่มของลานจอดรถ เนื่องจากการเกิด สนิมในเหล็กเส้นของพื้นคอนกรีต

การผลักดันให้มีการสร้างศูนย์ฝึกอบรมภาคสนามในด้าน Cathodic Protection ซึ่งเป็นเป้าหมายหนึ่งของการจัด การอบรมในเดือนสิงหาคมนี้ อยากทราบว่าศูนย์ฝึกอบรม ดังกล่าวมีความสำคัญอย่างไรต่อประเทศไทยบ้าง
Cathodic Protection เป็นศาสตร์ที่ใช้ในการป้องกัน การกัดกร่อนของโลหะซึ่งอยู่ใต้ดิน วิศวกรหรือช่างเทคนิคซึ่ง ทำงานในด้าน Cathodic Protection หากต้องการเป็นที่เชื่อถือ และยอมรับของประเทศในสากล จะต้องผ่านการสอบมาตรฐาน จาก NACE International การสอบจะมีขั้นตอนและความ สลับซับซ้อนมาก การจะเป็น NACE Certified Cathodic Protection Specialistนั้น จะต้องผ่านการสอบถึง 4 ระดับ ผู้เข้าสอบจะเข้าเรียนหลักสูตรสั้นๆ ซึ่งจัดขึ้นโดย NACE International แต่ละระดับต้องใช้เวลาเรียนเป็นเวลา 1 สัปดาห์ และต้องมีการสอบในวันสุดท้ายของหลักสูตร และหากสอบผ่าน ก็จะมีโอกาสเข้าสอบในระดับที่สูงขึ้น สิ่งหนึ่งซึ่งจำเป็นจะต้องมี ในการสอนหลักสูตรระดับที่ 1 และระดับที่ 2 ก็คือสนามทดสอบ ภาคปฏิบัติตามมาตรฐานของ  NACE International ซึ่งใน ประเทศไทยในขณะนี้ ยังไม่เคยมีการสร้างสนามทดสอบภาค ปฏิบัตินี้เลย วิศวกรหรือช่างเทคนิคในประเทศไทยจำต้อง เดินทางไปต่างประเทศเพื่อเข้าเรียนหลักสูตรนี้ ทำให้เสียเวลา และเสียเงินทองมากมาย อีกประการหนึ่ง ถ้าประเทศไทยจัดตั้ง ศูนย์ทดสอบนี้ขึ้นมา วิศวกรจากประเทศอื่นก็สามารถเข้าเรียน หลักสูตรในประเทศไทยได้ ซึ่งเป็นการนำเงินตราจากต่าง ประเทศเข้าสู่ประเทศไทยอีกด้วย

<< รูปภาพแสดงถึงการใช้ Cathodic Protection เพื่อป้องกัน การเกิดสนิมในเหล็กเส้นของพื้นคอนกรีต
ในฐานะที่คุณมงคลฯ เป็นสมาชิกของสมาคม ATPAC มาเป็น เวลานาน อยากขอให้คุณมงคลฯ  กล่าวถึงเป้าหมายของสมาคม และสิ่งที่คุณมงคลฯ คาดหวังที่จะเห็นจากสมาคมและกลุ่มคนไทย ในประเทศสหรัฐอเมริกาคะ
เป้าหมายของสมาคม ATPAC ในสายตาของผมคือการ สนับสนุนการ พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย ให้สอดคล้องกับความต้องการและความสามารถของคนไทยใน ประเทศ การที่ประเทศไทยจะลงทุนในด้านเทคโนโลยีและให้ เป็นผู้นำในเทคโนโลยีทุกประเภทก็คงจะเป็นไปไม่ได้ ยกตัวอย่าง เช่นการ ให้ประเทศไทยเป็นผู้นำโลกในด้านการออกแบบวงจร ไอซี ผมก็ไม่เห็นด้วย  เทคโนโลยีบางประเภทเช่นการเขียน โปรแกรม Software การทำเรื่อง Cloud Computing หรือเรื่องOut-sourcing  เมืองไทยก็ยังพอทำได้ ถ้ามีผู้นำที่เอาจริง หรือการพัฒนาเรื่องไบโอดีเซล หรือการพัฒนาเรื่องอาหาร สำเร็จรูปเพื่อการส่งออก ก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ เนื่องจากประเทศ ของเรามีผลผลิตทางอาหารและการเกษตรมากมาย  ผมอยาก เห็นสมาชิกของสมาคม ATPAC มีอุดมการณ์ทำเพื่อประเทศจริงๆ  ไม่ใช่แค่การส่งเสริมเฉพาะสิ่งที่ตัวเองรู้โดยไม่สนใจถึงความ เหมาะสมในการพัฒนาประเทศไทย

<< รูปภาพแสดงถึงศูนย์ทดสอบภาคสนามซึ่งผมและอาสาสมัครคนอื่นๆได้ร่วมมือในการจัดสร้างขึ้นในบริเวณของโรงบำบัด น้ำของ San Francisco Public Utilities Commission เครื่องไม้เครื่องมือและท่อโลหะได้มาจากการบริจาคจาก บริษัทต่างๆ ระยะเวลาก่อสร้างจริงประมาณสามสัปดาห์ ใช้แรงงานทั้งสิ้นประมาณ  20 คน
ขอให้คุณมงคลฯ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนา ของวงการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมของ ประเทศไทย และฝากข้อคิดเห็นในฐานะที่คุณมงคลฯ มีโอกาสได้ สัมผัสกับวงการดังกล่าวทั้งในประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา
ผมคิดว่าในประเทศไทยได้มีการกระเตื้องขึ้นในด้านการ พัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ด้านวิศวกรรมการกัดกร่อน  เมื่อสิบปีก่อน ผมได้เข้าไปสำรวจ รายชื่อของคนไทยที่สอบผ่านการอบรมของ NACE International  แต่ไม่เคยพบรายชื่อคนไทยเลย  ในระยะหลังนี้ ผมได้พบคนไทยมา นำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมทางวิชาการนานาชาติทางด้าน Corrosion บ่อยครั้ง อีกทั้งได้เห็นรายชื่อคนไทยในฐานข้อมูล ของ NACE มากขึ้น รู้สึกดีใจมาก ผมคิดว่ายังมีอีกหลายสิ่งหลาย อย่างที่คนไทยยังทำได้ดี ถ้าหากได้รับการสนับสนุนที่ถูกต้อง



วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

งานเลี้ยงฉลองวันคล้ายวันเกิด พล.อ.อ. อนิรุต กิตติรัตน์



เมื่อ 10 กค. 57 งานเลี้ยงฉลองวันคล้ายวันเกิด พล.อ.อ. อนิรุต กิตติรัตน์ และ เลี้ยงส่งท่าน ผู้ช่วยฑูตทหาร ประจำ กรุง แคมเบอร์ล่า ประเทศออสเตเลีย พี่ด๋อน








พี่ถ่ายภาพกับ พี่ด้วง นอ.จิรพล เกื้อด้วง ผู้ว่าการ สถาบันการบินพลเรือน

หลักสูตรฝึกอบรม

http://www.catc.or.th/2013/index.php/th/courses/special-courses

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เกลียวสัมพันธ์พี่น้อง ช่างกลปทุมวัน





สมชาย ไตรสุริยธรรมา ช.ก. 50 ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีช่างเครื่องบินระดับต้น ๆ ของประเทศ
เห็นว่าโรงเรียนเรากำลังจะเปิดสาขาช่างซ่อมบำรุงอากาศยานที่จังหวัดพิจิตร
ันนี้ขอแนะนำพี่ ๆ น้อง ๆ ได้รู้จักสมชาย ไตรสุริยธรรมา ช.ก. 50 ปวช. ช่างวิทยุและโทรคมนาคม เลขประจำตัว 15724 ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีช่างเครื่องบินระดับต้น ๆ ของประเทศ ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้บริหารและเจ้าของสถาบัน ITC และบริษัท Integrated Technology Consultants Co.,Ltd. (ITC) (http://itc-th.com/)
มารู้จักบริษัทพี่เขา Who are we
http://itc-th.com/index.php/who-are-we/
แล้วบริษัทพี่เขาทำอะไร What we do
http://itc-th.com/index.php/what-we-do/
ฝึกอบรมอะไรบ้าง
Aircraft Type Training
http://itc-th.com/index.php/aircraft-type-training/
Part 147 Basic Training
http://itc-th.com/index.php/part-147-basic-training/
ใครคือลูกค้าพี่เรา http://itc-th.com/index.php/customer-testimonials/
สถาบัน ITC ของพี่เขามีศักยภาพขนาดใด
ช่างซ่อมบำรุงกับอากาศยานทั้งลำในระดับสถานีย่อย ทุกคนจะต้องมี ใบอนุญาตนายช่างภาคพื้นดิน ที่ออกโดยกรมการบินพลเรือน นายช่างภาคพื้นดินที่ปฏิบัติงานซ่อมบำรุงกับอากาศยานทั้งลำในระดับสถานีย่อย (Line Maintenance)/ระดับลานจอดอากาศยาน จะต้องมีเอกสารสำเนาประกาศนียบัตรผ่านอบรมหลักสูตร Human Performance for Aircraft Maintenance หรือสำเนาผลสอบภาคทฤษฎีนายช่างภาคพื้นดิน
หลักสูตรนี้ไปเรียนได้ที่ไหน
หากไม่มีเอกสาร สำเนาประกาศนียบัตรผ่านอบรมหลักสูตร Human Performance for Aircraft Maintenance หรือสำเนาผลสอบภาคทฤษฎีนายช่างภาคพื้นดิน) ขอให้ติดต่อหน่วยงานด้านล่างนี้ เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมให้เรียบร้อยก่อน ได้แก่
1. สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.)
หรือ
2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หรือ
3. สถาบัน ITC
จะเห็นได้ว่าสถาบันของพี่สมชาย เป็นสถาบันที่ฝึกอยรมนายช่างอากาศยานภาคพื้นดิน 1 ใน 3 แห่งของประเทศ และเป็นสถาบันเดียวที่เป็นเอกชนของประเทศ ที่มีความสามารถที่กรมการบินพลเรือนยอมรับ และยังเป็นสถาบันที่เป็นที่ยอมรับของบริษัทสายการบินระหว่างประเทศ จึงส่งเจ้าหน้ามาฝึกอบรม
ประสบการณ์
อดีตช่างซ่อมบำรุงอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกสารบิน บริษัทการบินไทย
อดีตครูฝึกอบรมช่างซ่อมบำรุงอากกาศยาน บริษัทการบินไทย
อดีตวิศวกรที่ปรึกษาอาวุโส บริษัทมาร์โคนี่โทรคมนาคม (บริษัทขายระบบโทรคมนาคมระดับโลก)
อดีตอาจารย์พิเศษ วิชาอิเล็คทรอนิกส์การบิน วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ ฯ
อดีตอาจารย์พิเศษ สาขาวิศวกรรมอากาศยาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พี่สมชาย ฝากบอกน้อง ๆ ที่สนใจเข้าสู่วงการช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน ยินดีให้คำแนะนำและปรึกษา ครับ และยังบอกว่ายินดีสนับสนุนโรงเรียนเราในเรื่องที่ต้องการที่เกี่ยวกับด้านซ่อมบำรุงอากาศยาน