เหตุเพราะโรงเรียนนายเรือแผนกพรรคกะลิน...จึงเป็นตำนานโรงเรียนช่างกลปทุมวัน
บทความโดยเรื่อง : ประวัติช่างกลปทุมวัน
ที่มา : :: www . patumwan.info :: ชุมชนช่างกลปทุมวัน ::
เมื่อประเทศไทยเข้าร่วมสนธิสัญญากับฝ่ายพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 ในรัชการที่ 6 และได้ส่งกองทัพไปเข้าร่วมรบในยุโรปเมื่อพุทธศักราช 2460 นั้น การเดินทางของทหารไทยในสมัยนั้น เดินทางโดยทางเรือรบจากอ่าวไทยไปทางมหาสมุทรอินเดียเข้าทะเลเมดิเตอเรเนียน และเข้าสู่ทวีปยุโรปเหตุการณ์ในครั้งนั้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ประเทศไทยตื่น ตัวที่จะพัฒนาการทหารให้ทำหน้าที่ปกป้องอาณาเขตทางทะเลให้มั่นคงด้วยประเทศ ไทยมีฝั่งทะเลที่ี่ยาวจากทิศตะวันออกลงไปสู่ภาคใต้ และฝั่งทะเลทางด้านทางด้านตะวันตกซึ่งยาวกว่าหลายพันไมล์ ได้รับงบประมาณสั่งซื้อเรือรบที่ขับเครื่องด้วยเครื่องจักรจากต่างประเทศ เข้ามาใช้ในราชการ เครื่องจักรกลของเรือนี้เองเป็นที่มาของคำว่า "ช่างกล" เรือรบที่สั่งซื้อจากยุโรปจำเป็นจะต้องศึกษาวิธีใช้วิธีซ่อมบำรุงรักษา เครื่องจักรกลที่ประจำเรือ เป็นหน้าที่สำคัญของทหารที่ประจำเรือ การศึกษาวิธีใช้เครื่องกลเรือของทหารเรือสมัยนั้น ช่วงแรกๆ ค่อนข้างจะเสียเปรียบประเทศผู้ขายอย่างยิ่งเพราะจะส่งช่างมาสอนให้โดยเฉพาะ หรือมิฉะนั้นฝ่ายไทยก็ส่งทหารไปศึกษายังประเทศที่สั่งซื้อโดยตรง ซึ่งเป็นการให้ความรู้เฉพาะบางส่วนที่จำเป็นกับการใช้งานเท่านั้น นอกนั้นถือเป็นความลับที่ไม่มีการเปิดเผยความรู้ให้และเมื่อเครื่องจักรกลมี ปัญหาหรือขัดข้องก็ต้องใช้ช่างจากประเทศสั่งซื้อมาดูแลแก้ไขหรือซ่อมบำรุง รักษา เป็นการเสียงบประมาณสูง และเสียเสียเวลานานในการรอคอยช่างกว่าจะเดินทางมาถึงเมืองไทยด้วย อย่างไรก็ตามกองทัพเรือได้มีโรงเรียนนายเรือสอนหลักสูตรวิศวกรรมเครื่องเรือ กล มีชื่อเฉพาะเรียกว่า"แผนกพรรคกะลิน" มาตั้งแต่รัชการพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เปิดสอนมาจนถึงพุทธศักราช 2474 แผนกพรรคกะลินจึงยุบการสอนเสีย
นายเรือเอกทิพย์ ประสานสุข ร.น. ตำแหน่งกองช่างตรวจเรือกรมเจ้าท่า ได้เล่าไว้ว่าในบทความ "บันทึกจากอดีตช่างกล โรงเรียนช่างกลเกิดขึ้นได้อย่างไร" ว่า "พุทธศักราช 2474 เป็นเวลาที่มีผู้อำนาจในวงราชการอาจเห็นว่าโรงเรียนนายเรือพรรคกะลินจะไม่มีประโยชน์หรือมีประโยชน์น้อยไปไม่ทราบ ท่านจึงได้สั่งให้ยุบเลิกโรงเรียนนายเรือแผนกพรรคกะลินเสียคงเหลือไว้แต่โรงเรียนนายเรือแผนกพรรคนาวินเท่านั้น ฉะนั้นนายทหารเรือฝ่ายพรรคกะลินรุ่นปี 2473 จึงเป็นนายทหารรุ่นสุดท้ายที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือแผนกพรรคกะลิน เมื่อผลปรากฎเช่นนี้วิชาอาชีพฝ่ายช่างในเมืองไทยย่อมร่อยหรอหมดสิ้นไปทีละน้อยๆ เพราะการเรียนฝ่ายช่าง ที่พอจะเป็นที่เชื่อถือได้ในเวลานั้น ไม่มีโรงเรียนช่างที่ไหนดีไปกว่าที่นี่" เนื่องมาจากเหตุผลดังกล่าว
ท่านนาวาเอก พระประกอบกลกิจ (เจ๋อ จันทรเวคิน) ขณะนั้นมียศเป็นนาวาตรีหลวงประกอบกลกิจ และดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนนายเรือแผนกพรรคกะลิน และโรงเรียนนายทหารเรือชั้นสูงแผนกพรรคกะลินเกิดความรู้สึกห่วงใยว่าเรื่องวิชาช่างจะไม่เจริญก้าวหน้าต่อไปในกาลข้างหน้า ท่านจึงเรียกข้าพเจ้าพร้อมด้วยพลเรือตรีสงบ จรูญพร ร.น. ซึ่งขณะนั้น ต่างก็มีียศเป็นเรือโทในฐานะเป็นศิษย์ของท่าน ไปพบและชี้แจงว่าท่านมีความประสงค์แรงกล้าจะจัดตั้งโรงเรียนอาชีพช่างกล ความประสงค์เพื่อที่จะได้แก้ปัญหาดังต่อไปนี้
1. เพื่อเป็นการสนับสนุนให้อาชีพทางการช่างของเมืองไทยดำรงอยู่
2. เพื่อเป็นการช่วยเหลือบรรดานายทหารกองทุน ซึ่งได้พ้นจากหน้าที่ราชการไปแล้ว ให้ได้มาเป็นครูและทำการอบรมศิษย์ช่างกลต่อไป
3. เพื่อเป็นการแก้ปัญหาในเรื่องโรงงานต่าง ๆ ซึ่งในขณะนั้นบรรดาคนงานซึ่งได้ ปฏิบัติงานอยู่ตามแผนกช่างต่างๆ ของโรงงานกรมอู่ทหารเรือ คนงานส่วนมากล้วนแต่เป็นชาวต่างชาติทั้งสิ้น ทั้งๆที่โรงงานนี้เป็นโรงงานของรัฐบาล ท่านให้เหตุผลว่าถ้าหากเรามีแต่เฉพาะนายช่างอย่างเดียวเท่านั้นกิจการฝ่าย ช่างก็จะดำเนินไปด้วยดีไม่ได้นายช่างเมื่อเปรียบเทียบกับร่างกายก็เท่ากับ มันสมอง แต่ถ้าส่วนอวัยวะต่างๆไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของมันสมองแล้วก็ไร้ประโยชน์การ ที่ท่านจะคิดสร้างโรงเรียนอาชีพช่างกลขึ้นมาก็เพื่อจะได้ให้ช่างกลคั่นกลาง เพื่อได้มาประกอบเป็นอวัยวะในเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วร่างกายนั้นจึงจะจัด ได้ว่าสมบูรณ์ทุกประการ
4. เพื่อให้ชาวไทยได้รู้จักรักวิชาชีพ ท่านจึงได้กำหนดวิชาที่จะอบรมศิษย์โดยวิธีถอด แบบอย่างของการศึกษาในโรงเรียนนายเรือแผนกพรรคกะลิน มาจัดตั้งหลักสูตรการสอนโดยมีการศึกษาวิชาทางตำราในภาคครึ่งวันเช้า ส่วนในภาคบ่ายให้นักเรียนฝึกหัดวิชาการช่างทางภาคปฏิบัติ โดยให้ได้เข้าฝึกงานในโรงงาน และต้องปฏิบัติงานด้วยฝีมือของตัวเองทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนได้มีความชำนาญงานและมีความอดทนและไม่ต้องกลัวต่อความสกปรกโสมม โดยให้อบรมงานในแผนกช่าง 10 ประเภท ตามลำดับความสำคัญ คือ
1. ช่างตีเหล็ก
2. ช่างตะไบ
3. ช่างบัดกรีและประสาน
4. ช่างปรับ
5. ช่างยนต์
6. ช่างไฟฟ้า
7. ช่างกลึง
8. ช่างหล่อ
9. ช่างเดินเครื่องจักร
10. ช่างออกแบบ
ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ทางตำรา และให้ฝึกความชำนาญในหน้าที่งานช่าง ในทางปฏิบัติด้วย จึงจะจัดว่าเป็นช่างกลที่ดีได้ ส่วนเรื่องโรงงาน เพื่อได้ใช้เป็นสถานที่สำหรับฝึกงานซึ่งขณะนั้นโรงเรียนยังไม่มีโรงงานของ ตัวเองท่านได้ข้อความกรุณาต่อราชการทหารเรือเพื่อได้นำนักเรียนไปฝึกหัดงาน ในโรงงานกรมอู่ทหารเรือ และในโรงงานของโรงเรียนนายเรือฝ่ายพรรคกะลิน จากเหตุผล 4 ประการดังกล่าวแล้ว ท่านจึงขอร้องให้ข้าพเจ้า และพลเรือตรีสงบ จรูญพร ร.น. ได้ช่วยชักชวนบรรดาเพื่อนทหารชั้นผู้น้อยและสำหรับตัวท่านเองจะได้ชักชวน บรรดาเพื่อนนายทหารชั้นผู้ใหญ่โดยขอร้องให้ช่วยกันเสียสละเงินเดือนเป็นราย เดือนคนละเล็กละน้อยให้พอเพียงแก่กันสนับสนุนให้โรงเรียนทรงตัวอยู่ได้ บรรดานายทหารที่ประจำการอยู่ในปี พ.ศ. 2474 ส่วนมากได้เห็นชอบด้วย ดังที่ท่านได้ทราบรายนามทหารผู้ยอมเสียสละเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมปรากฎอยู่ ในหนังสือเล่มนี้แล้วพร้อมกับบรรดาครูที่ต้องทำหน้าที่อบรมสั่งสอนให้ความ รู้แก่นักเรียน ซึ่งเกือบจะเรียกได้ว่า มิได้หวังผลตอบแทนใดๆ ด้วยแนวความคิดของ นายนาวาเอก พระประกอบกลกิจที่กล่าวมานี้ บรรดานายทหารเรือส่วนใหญ่เห็นดีด้วยท่านจึงมีหนังสือเวียนขอความร่วมมือ เรี่ยรายเงินจากบรรดานายทหารเรือคนละ 100 บาท เพื่อจัดตั้งโรงเรียนช่างกล การเก็บเงินในครั้งนั้นใช้วิธีเก็บเงินเป็นรายเดือนๆ ละ 5 บาท เก็บจนกว่าจะครบ 100 บาท ผู้ที่เป็นกำลังช่วยเหลือคือ พลเรือตรีสงบ จรูญพร ร.น. และพลเรือเอก ทิพย์ ประสานสุข ร.น. ชักชวนบรรดาเพื่อนๆ นายทหารด้วยกัน จำนวน 100 คน ดังนี้
นายทหารเรือฝ่ายพรรคนาวิน
1. พล.ร.อ. หลวงสินธุสงครามชัย ร.น. (สินธุ กมลนาวิน) ผู้บัญชาการทหารเรือ
2. พล.ร.ท. หลวงเจริญราชนาวา ร.น. (เจริญ ทุมนานนท์) รองผู้บัญชาการทหารเรือ
3. พล.ร.ต. พระยาศรยุทธเสนี ร.น. (กระแสร์ ประวาหะนาวิน)
4. พล.ร.ต. หลวงสุนาวินวิวัฒน์ ร.น.(เหลียง สุนาวิน) รัฐมนตรีว่าราชการกระทรวงกลาโหม
5. น.อ. พระยาฤทธิเดชชลขันธ์
6. น.อ. สวัสดิ์ จันทนี ร.น.
7. น.ต. หลวงชัยนาวา ร.น. (อยู่ นายเรือ)
8. น.ต. หลวงเธียรชลประทิป ร.น. (เธียร ประทีปะเสน
9. น.ต. หลวงรามเดชะ ร.น. (ฮอก ลี้บุตร)
10. ร.อ. จำรัส ศุกรวรรณ ร.น.
นายทหารเรือฝ่ายพรรคกะลิน
1. พล.ร.ท.พระวิจิตนาวี ร.น. (แดง ลางคุนเสน) เจ้ากรมอู่ทหารเรือ
2. พล.ร.ต. พระจักรานุกรกิจ ร.น. (วงษ์ สุจริตกล)
3. พล.ร.ต. หลวงเจียรกลการ ร.น. (เจียม เจียรกุล)
4. พล.ร.ต. หลวงประสาทกลพิทยา ร.น. (เลื่อม สายเนตร)
5. พล.ร.ต. พระยาพิจารณ์จักรกิจ ร.น. (บุญรอด สวาทะสุข)
6. พล.ร.ต. สวบ จรูญพร ร.น.
7. พล.ร.ต.หลวงสุภัทรากลทิพย์ ร.น. (สภาทย์ ลักษณียนาวิน)
8. น.อ. หลวงกลกิจโกวินท์ ร.น. ( ทองสุก ต้นสมบูญ)
9. น.อ.หลวงกลมัยชำนาญ ร.น. (เส็ง หุตะโชติ)
10. น.อ. เกื้อกูล อิงคะวนิช ร.น.
11. น.อ.เขียน สุเสารัจ ร.น.
12. น.อ. จง ทังสุบุตร ร.น.
13. น.อ. จำรัส เจริญลาภ ร.น.
14. น.อ. จำลอง สุวรรณอัฑฒ์ ร.น.
15. น.อ. หลวงจรูญพิตรากูล ร.น. (จรูญ พิตรากูล)
16. น.อ. เจริญ มีสุวรรณ ร.น.
17. น.อ. หม่อมเจ้าเจริญสุข โสภาคย์เกษมสันต์ ร.น.
18. น.อ. ชด มัธยมจันทร์ ร.น.
19. น.อ. ชุมนุม กัลยาณมิตร ร.น.
20. น.อ. บุรินทร์ ศรีวรรธนะ ร.น.
21. น.อ. หลวงประกฤตกลจักร ร.น. (บุญวงศ์)
22. น.อ. หลวงประดิษฐ์ศรแสง ร.น. (เฉลิม นาลินทน)
23. น.อ. ประพันธ์ เกตุเสถียร ร.น.
24. น.อ. ประมูล พิชัยรัฐ ร.น.
25. น.อ. ประยูร พิณสวัสดิ์ ร.น.
26. น.อ. ประสันต์ บุญยมาลิก ร.น.
27. น.อ. หลวงประสิทธิ์จักรการ ร.น. (พ้วน โหตรภวานนท์)
28. น.อ. หลวงประเสริฐ ร.น. (ประเสริฐ ศิริไพบูลย์)
29. น.อ. โปร่ง ณ นคร ร.น.
30. น.อ. ผวน ศรีเพชร์ ร.น.
31. น.อ. ผิว มีคุณเอี่ยม ร.น.
32. น.อ. หลวงพินิจกลไก (ทองสุข สุวรรณสาโรจน์)
33. น.อ. พิศิษฐ์ ศุภะพงษ์ ร.น.
34. น.อ. รัตร์ รุขามาศ ร.น.
35. น.อ. วงษ์ ศิริเกตุ ร.น. คุณพ่อคุณสหัส ศิริเกตุ ชก.50 อิเลคทรอนิคส์
36. น.อ. ศรี ดาวราย ร.น.
37. น.อ. ศักดิ์ กลินศักดิ์ ร.น.
38. น.อ. ศิริวัฒนกุล ร.น.
39. น.อ. สง่า คงพันธ์ ร.น.
40. น.อ. สนิท พ่วงพงษ์ ร.น.
41. น.อ. สระ สมุทเสน ร.น.
42. น.อ. หลวงสำรวจวิถีสมุทร ร.น.
43. น.อ. สุข โพธิวิหก ร.น.
44. น.อ. สุเชาว์ เชาวน์ดี ร.น.
45. น.อ. สุรกิจ ปัญจะ ร.น.
46. น.อ.เสงี่ยม บุญมา ร.น.
47. น.อ. โสภณ ทิมกระจ่าง ร.น.
48. น.อ. อุดม นุชเนตร ร.น
49. น.อ. หลวงอุดมศรแสง ร.น. (อ๊อด ครองธรรมอาตม์)
50. น.อ. อุทัย หงษ์โสภณ ร.น.
51. น.ท. พระกลพิทยาประพิณ ร.น. (ผาด ผาดินาวิน)
52. น.ท. หลวงกลศาสตร์เสนีย์ ร.น. (อั่น ศาสตริน)
53. น.ท. หลวงกฤษณะกลิน ร.น. (ดำ กฤษณากลิน)
54. น.ท. หลวงเจนพิชาจักร ร.น. (เปลื้อง ศุภางคนันท์)
55. น.ท. ฉอุ่ม รัตนเรือง ร.น.
56. น.ท. หลวงชาญจักรกิจ ร.น. (หวาน ชนะนันท์)
57. น.ท. หลวงโชติวิชาจักร ร.น. (โชติ ศุษินวรณ์)
58. น.ท. หลวงตรีจักรวิจารณ์ ร.น. (แตร ศัพทะนาวิน)
59. น.ท. หลวงประดิษฐนาเวศ ร.น. (สอน กลิ่นรอด)
60. น.ท. พระวิจารณ์กลจักร ร.น. (สวัสดิ์ พันธุมคุปต์) อธิบดีกรมเจ้าท่า
61. น.ท. หลวงวิทยุกลวิจิตร ร.น. (จ้อย เมนะปรีย์)
62. น.ต. หลวงกลการวิจิตร ร.น. (ทอง โสมะนันท์) ต้นกลเรือ ชาติพิบูล
63. น.ต. หลวงกลกิจกำจร ร.น. (ถมยา รังคะกะลิน )
64. น.ต. หลวงกิจการกลจักร ร.น. (จำปี ปุษยะนาวิน)
65. น.ต. หลวงจักรยานานุ ร.น. (เริ่ม รุมาคม)
66. น.ต. หลวงจักรวิธานนิเทศ ร.น. (สนธิ์ วังศะสนธิ)
67. น.ต. หลวงจักรวิธานสันทัด ร.น. (กระมล อากาศวิภาค)ต้นเรือ นางเสียง
68. น.ต. ชิต พิทักษาการ ร.น.
69. น.ต. ชิต สุนทรกะลัมถ์ ร.น.
70. น.ต. นพรัตน์ สมิตานนท์ ร.น.
71. น.ต. หลวงนิเทศากลกิจ ร.น. (กลาง โรจนาเสนา)
72. น.ต. หลวงประพรรดิ์จักรกิจ ร.น. (แสวง หาสตะนันทน์)
73. น.ต. หลวงศรจักรการ ร.น. (เทียง ทิวะกลิน)
74. น.ต. ศิริ รุจิโกไศย ร.น.
75. น.ต. หม่อมศิริวงศ์วรวัฒน์
76. น.ต. หลวงสันทัดจักรวิธรน ร.น. (สอน ฉายานันท์)
77. น.ต. สิริ ฤกษ์สวัสดิ์ ร.น.
78. น.ต. หลวงสุนทรศักยกลิน ร.น. (ดี ศักยกลิน)
79. น.ต. หลวงเสถียร วิธีจักร ร.น. (ย้อย เสถียนสุต)
80. ร.อ. กระจ่าง ไวว่อง ร.น.
81. ร.อ. หลวงกลวิทย์ วิศาล ร.น.(มุ่ย นามะสิร)
82. ร.อ. จำรัส ศุกรวรรณ ร.น. ร.น.
83. ร.อ. ขุนชาญใช้จักร ร.น. (ชาญ ชาญใช้จักร)
84. ร.อ. ทิพย์ ประสานสุข ร.น.
85. ร.อ. นพ กุสุมา ณ อยุธยา ร.น
86. ร.อ. บำรุง แสงงำพาล ร.น.
87. ร.อ. บุนนาค เทศาวศาล ร.น.
88. ร.อ. ผล แสนประยูร ร.น.
89. ร.อ. ผัน จันทร์โรจน์ ร.น.
90. ร.อ. วัน รุยาพร ร.น.
91. ร.อ. สถิต แสงอินทร์ ร.น.
92. ร.อ. สุทัศน์ เหล่าวนิช
93. ร.อ. หลวงสุรภัฏพิสิษฐ์ ร.น. (เจือ สุรภัฏพิสิษฐ์)
94. ร.อ. สุเอ็ด เล็กสุภาพ ร.น.
95. ร.อ. หลวงอินทรกลินสุนทร ร.น. (อิทร สุนทรกะลัมถ์)
96. ร.ท. เจือ สุนทรกลิน ร.น.
97. ร.ท. นพ ชลัษเจียร ร.น.
98. ร.ท. ลุ้ย สุนทรธยาลัย
99. ร.ท. สมบูญ กายสุต ร.น.
100. ร.ต. แปลก กัต์นิกุล ร.น.
โรงเรียนอาชีพช่างกล
เมื่อได้ทุนในชั้นแรกแล้ว ก็ดำเนินการหาสถานที่ในการจัดการเรียนการสอน โดยใช้ใต้ถุนตึกของพระคลังข้างที่ในตรอกกัปตันบุช สี่พระยาเขตบางรัก เปิดทำการสอนครั้งแรกในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2475 โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนอาชีพช่างกล มีนายนาวาเอก พระประกอบกลกิจ ร.น. เป็นผู้อำนวยการ การจัดการเรียนการสอนในช่วงแรกนั้นได้นำลูกหลานของนายทหารเรือและผู้สนใจเข้ารับการศึกษา การจัดหาครู-อาจารย์ ผู้สอน ได้ติดต่อขอเชิญนายเรือเอก หลวงสุรภัฎพิศิษฐ์ ร.น. เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรกของโรงเรียน และนายเรือเอกสงวน คงศิริร.น.เป็นอาจารย์ผู้ปกครองการรับนักศึกษาในรุ่นแรก กำหนดความรู้ชั้นประถมปีที่ 3 หรือเทียบเท่าอุปกรณ์ในการเรียนการสอนก็สั่งซื้อเข้ามารทีละเล็กละน้อยสำหรับฝึกหัด เช่น เตาเผาเหล็ก ทั่ง ฆ้อน ปากกาจับงาน เครื่องกลึง
นอกจากเครื่องมือประจำโรงเรียนเหล่านี้แล้ว กองทัพเรือยังได้ให้การอุปการะโดยให้นักเรียนไปฝึกงานภาคปฏิบัติที่กรมอู่ทหารเรือ เครื่องจักรบางชิ้น กรมอู่ทหารเรือก็มอบให้แก่โรงเรียนเป็นเครื่องมือสำหรับนักเรียนฝึกหัดงานทางโรงเรียนพ.ศ. 2477 กรมแผนที่ทหารบกเดิมตั้งอยู่ที่ท่าตรงข้ามโรงเรียนราชินีล่าง ได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น จึงได้ถือโอกาสย้ายโรงเรียนอาชีพช่างกลจากตรอกกัปตันบุชมาอยู่แทน เพราะสถานที่กว้าง ใกล้น้ำ สะดวกแก่การไปฝึกงานที่กรมอู่ทหารเรือและสะดวกแก่การควบคุมของผู้อำนวยการโรงเรียน
โรงเรียนอาชีพช่างกลปทุมวัน
ในปีเดียวกันนี้เอง กระทรวงธรรมการหรือกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน ใคร่จะขยายการศึกษาวิชาอาชีพต่าง ๆ ให้ดำเนินไปตามโครงการการศึกษาของชาติ วิชาช่างกล เป็นวิชาชีพแขนงหนึ่งที่กระทรวงธรรมการเห็นว่ามีความสำคัญ และมีนโยบายที่จะส่งเสริมอยู่แล้วจึงได้ขอความร่วมมือให้กองทัพเรือช่วยเหลือ กองทัพเรือก็ยินดีที่จะร่วมงานนี้กับกระทรวงธรรมการด้วย จึงได้ทาบทามขอโอนโรงเรียนอาชีพช่างกลที่อยู่ในความดูแล ของนายนาวาเอกพระประกอบกลกิจ ร.น. ให้มาอยู่ในสังกัดกระทรวงธรรมการเสีย นายนาวาเอก พระประกอบกลกิจ ร.น. ผู้อำนวยการโรงเรียนมีความยินดีที่จะมอบให้กระทรวงธรรมการ แต่ทว่าในปีนั้นกระทรวงธรรมการยังไม่มีงบประมาณพอที่จะรับมอบ จึงขอให้ชะลอเรื่องไว้ก่อน พ.ศ. 2478 พลเรือเอก หลวงสินธุสงครามชัยร.น. ตั้งแต่ครั้งเป็นเสนาธิการกองทัพเรือ ซึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือในการออกทุนได้สนับสนุนโรงเรียนอาชีพช่างกลด้วยผู้หนึ่ง ต่อมาจนกระทั้งเป็นแม่ทัพและในปีเดียวกันนี้ท่านได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ ท่านได้นำเรื่องของโรงเรียนอาชีพช่างกลเข้าปรึกษาจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยความเมตตากรุณาของท่านผู้ใหญ่ทั้งสองท่าน และด้วยสายตาที่มองไกล ท่านได้เห็นความสำคัญในเรื่องวิชาชีพการช่างกล ว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลควรจะต้องอุ้มชู เพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติในอนาคต และให้ประชาชนของชาติได้รับการศึกษาเล่าเรียนวิชาช่างกลไว้ เพื่อได้เป็นวิชาอาชีพที่จะได้นำไปประกอบการงานให้เป็นประโยชน์ต่อราชการ หรือส่วนตัวและครอบครัว ให้ได้มีอาชีพการทำงานที่เป็นปึกแผ่นและอยู่ดีกินดี จึงได้รับโรงเรียนอาชีพช่างกลจากนายนาวาเอก พระประกอบกลกิจ ร.น.มาสังกัดอยู่ในกรมอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 พร้อมอนุมัติเงินงบประมาณให้โรงเรียนได้ก่อตั้งรากฐานอันมั่นคง มีโรงงานและเครื่องจักรกลต่าง ๆ เป็นสมบัติของโรงเรียนปรากฎหลักฐานอยู่ในขณะนี้ และโรงเรียนอาชีพช่างกลก็ได้เปลี่ยนนามของโรงเรียนเรียกนามใหม่ว่า "อาชีพช่างกลปทุมวัน"ระเบียบในการรับสมัครนักเรียน ต้องสำเร็จวิชาสามัญชั้นมัธยมปีที่ 4 เป็นอย่างต่ำ และอายุไม่น้อยกว่า 15 ปี ไม่กิน 18 ปี วางหลักสูตรการเรียนไว้ 2 ปี ไม่เก็บค่าเล่าเรียน ส่วนนายนาวาเอกพระประกอบกลกิจ ร.น. ยังคงรับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนต่อมา และนายเรือเอก หลวงสุรภัฎพิศิษฐ์ ร.น. เป็นอาจารย์ใหญ่เช่นเดิมต่อมาเดือนมกราคม พ.ศ. 2478 นายเรือเอก หลวงสุรภัฎพิศิษฐ์ ร.น. ย้ายไปรับราชการกรมเจ้าท่า นายเรือโท สมบุญ กายสุต ร.น. ทำหน้าที่รักษาการแทนอาจารย์ใหญ่พ.ศ. 2479 นายนาวาตรี หลวงกลกิจกำจร ร.น. (ถมยา รังคะกะลิน) เป็นอาจารย์ใหญ่ ด้วยสาเหตุนายนาวาเอก พระประกอบกลกิจ ร.น. ผู้อำนวยการไปราชการประเทศญี่ปุ่น กองทัพเรือจึงมีคำสั่งที่ 42/79 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2479 แต่งตั้งให้ พล.ร.ท. พระวิจิตรนาวี (แดง ลางคุณแสน) เป็นผู้อำนวยการแทน ปีนี้นักศึกษาซึ่งเรียนหลักสูตร 2 ปี เรียนจบหลักสูตรและออกไปเป็นรุ่นแรกจำนวน 67 คนตั้งแต่ พ.ศ. 2478 เป็นต้นมา กองทัพเรือคงให้ความสะดวกในการฝึกงานที่กรมอู่ทหารเรือ และจัดอาจารย์จากโรงเรียนนายทหารเรือเข้าสอบภาคทฤษฎี และมีอาจารย์จากที่อื่น ๆ อีกพ.ศ. 2480 กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนระเบียบรับนักเรียนใหม่ รับนักเรียนที่สอบวิชาสามัญชั้น มัธยมปีที่ 6 ได้ และเปลี่ยนหลักสูตรการศึกษาเป็น 3 ปี และยังเก็บเงินค่าเล่าเรียนตามเดิมในเดือนพฤศจิกายน 2480 นายนาวาตรี หลวงกลกิจกำจร ร.น. (ถมยา รังคะกะลิน) ย้ายไปรักษาราชการในตำแหน่งนายช่างใหญ่ โรงน้ำตาล จังหวัดลำปาง นายนาวาตรี ขุนประพุธพิชากล ร.น. (พุฒ นิยมตรุษ) รักษาราชการแทน จนกระทั้งเดือนกุมภาพันธ์ 2480 นายนาวาตรี หลวงดำเนินนาวากล ร.น. (จันทร์ รัชตชาติ) มารับราชการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่พ.ศ. 2481 เริ่มเก็บค่าเล่าเรียนปีละ 20 บาท แบ่งเก็บเป็น 3 ภาค ภาคต้น 6 บาท ภาคกลาง 6 บาท ภาคปลาย 8 บาทกระทรวงศึกษาธิการจัดงบประมาณเป็นค่าใช้สอยให้แก่โรงเรียนปีละ 3,500 บาท
โรงเรียนช่างกลปทุมวัน
ต่อมาพ.ศ. 2482 พลเรือเอก หลวงสินธุสงครามชัย ร.น. รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการเห็นว่าโรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกลมีสถานที่คับแคบ และเครื่องมือเครื่องใช้ในการฝึกสอนก็น้อยเห็นความจำเป็นของวิชาช่างกลที่จะ จรรโลกชาติให้ก้าวหน้าต่อไในอนาคต ท่านจึงได้วางโครงการที่จะขยายกิจการโรงเรียนเป็นการใหญ่ โดยพยายามของบประมาณ 5 แสนบาท ก่อสร้างและจัดหาเครื่องมือเครื่องจักรในการฝึกสอนนักเรียนให้ทันสมัยยิ่ง ขึ้น และได้มอบงานนี้แก่ หม่อมเจ้า รัชฎาภิเษก โสณกุล อธิบดีกรมอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นอธิบดีคนแรกของกรมอาชีวศึกษาดำเนินการเช่าที่ดินตรงข้ามกรีฑาสถาน แห่งชาติในปัจจุบัน (สนามศุภฯ) ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์มหากษัตริย์ ซึ่งเป็นวังของ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ เดิมมีเนื้อที่ประมาณ 18 ไร่ ได้ก่อสร้างจัดอาคารโรงเรียนขึ้น 1 หลัง โรงฝึกงานอีก 8 หลัง พร้อมทั้งจัดหาเครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัยให้แก่โรงเรียน ซึ่งหลวงกิติวาท หัวหน้ากองอาชีวศึกษาเทียบได้กับผู้อำนวยการกองวิทยาลัยเทคนิคในปัจจุบัน เป็นผู้ดูแลเรื่อง และด้วยความใส่พระทัยในกิจการโรงเรียนนี้ของ หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล อย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ จนการก่อสร้างอาคารโรงเรียนเสร็จเรียบร้อย จึงได้ย้ายโรงเรียน "มัธยมอาชีพช่างกล" มาอยู่ที่แห่งใหม่นี้ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2482 และในการนั้น ได้เปลี่ยนขื่อใหม่เป็น "โรงเรียนช่างกลปทุมวัน" และได้จักการปรับปรุงหลักสูตร การสอนให้เข้าระดับมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการอาชีวศึกษาชั้นสูงแผนกช่างกล และได้แยกเรียนวิชาชั้นปีที่ 3 ออกเป็น 3 แขนง คือ ช่างยนต์ ช่างไอน้ำ และช่างไฟฟ้าวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2483 นายนาวาตรี หลวงดำเนินนาวากล ร.น. อาจารย์ใหญ่ขอลาออกจากราชการเพราะสุขภาพไม่สมบูรณ์ กรมอาชีวคึกษาได้แต่งตั้งให้นาย นาวาตรีหลวงประจักรกิจ ร.น. (แสวง หาสตะนันทร์) เป็นผู้รักษาการแทนอาจารย์ใหญ่
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
กิจการของโรงเรียนช่างกลดำเนินมาอย่างเป็นระบบ อุปกรณ์การเรียนการสอน และเครื่องมือเครื่องจักร อยู่ในระดับที่ดำเนินการเรียนการสอนอยู่ในเกณฑ์ดี แต่แล้วในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2484 เวลา 19.30 น. กองกำลังญี่ปุ่นประมาณ 100 คนเศษ ได้เข้ายึดทรัพย์สมบัติ และเครื่องจักรของโรงเรียนไว้ทั้งสิ้น โรงเรียนจึงต้องอพยพนักเรียนไปอาศัยโรงเรียนมัธยม วัดเทพศิรินทร์ จนจบปีการศึกษา พ.ศ. 2484 ปีการศึกษา 2485 น.ต. หลวงประพรรดิ์จักรกิจ ร.น. ได้รับตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนเปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 ที่ตึกห้องสมุดของโรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์จนถึงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2485 ได้ย้ายไปทำการสอนที่เชิงสะพานเฉลิมโลกตำบลประตูน้ำ ปทุมวัน ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานศึกษาของการช่างอินทราชัยวันที่ 12 กรกฎาคม 2485 ทางราชการกองทัพยภาคพายัพได้ขอให้เจ้ากรมพลาธิการทหารบกกระทรวงกลาโหม ติดต่อขอนักเรียนแผนกช่างยนต์ชั้นปีที่ 3 รวม 32 คน และขอครููควบคุมอีก 2 คนไปช่วงราชการทหารกองทัพพายัพ โรงเรียนช่างกลปทุมวันได้จัดให้ อาจารย์สิทธิชัย คูหาแก้ว และอาจารย์เคลือบ ศิริวัฒนกุล ครูช่างยนต์เป็นผู้ควบคุมนักเรียนไป ในการไปช่วยราชการทหารครั้งนี้ตราบจนกระทั่งสิ้นสภาวะสงครามโลก นักศึกษาของโรงเรียนช่างกลปทุมวันได้เสียชีวิตในราชการทหาร 1 คน คือ นายอินทรชุบ จัทรินทุ และครูผู้ควบคุมอีก 1 ท่าน คือ อาจารย์สิทธิชัย คูหาแก้วด้วยความไม่ปรกติของสถานการณ์บ้านเมือง ในปี พ.ศ. 2486 โรงเรียนช่างกลปทุมวันจึงได้รวมนักศึกษาชั้นปีที่ 3 เข้าเรียนด้วยกันเป็นแผนกเดียวทั้ง 3 ช่างและขออนุญาตงดการสอบในปีการศึกษานั้นกระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้ถือ เกณฑ์เวลาเรียน ร้อยละ 60 ถือเป็นการสอบผ่าน ในช่วงนั้นนักเรียนของโรงเรียนช่างกลบปทุมวันได้ให้การช่วยเหลือบ้านเมือง เป็นอย่างมาก เช่น ช่วยทางด้านการทหาร ในการซ่อมอุปกรณ์ทางด้านการทหารและทางสาธารณูปโภคที่เกิดจาการเสียหายจาก สงครามและยังเป็นกำลังสำคัญในทางราชการในการป้องกันมิให้ประเทศไทยต้องตก อยู่ในฐานะผู้ประกาศสงครามร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรโดยร่วมมือกับสถาบันการ ศึกษาชั้นในขณะนั้นในส่วนของการเรียนการสอน โรงเรียนช่างกลปทุมวันก็ยังคงเปิดทำการสอนตามปกติ ในขณะนั้นมีคำสั่งจากกระทรวงศึกษาธิการให้ย้ายโรงเรียนช่างกลปทุมวันไปทำการ สอนชั่วคราวที่เชิงสะพานเฉลิมโลก เนื่องจากพื้นที่ส่วนนั้นเป็นที่ชุมนุมชน ซึ่งอาจจะได้รับความเสียหายจากสงคราม โดยให้ย้ายออกไปอยู่นอกเขตพระนคร ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2487 โรงเรียนได้ย้ายไปเรียนภาคทฤษฎี ที่วัดธาตุทอง พระโขนงในตอนเช้า และในตอนบ่ายให้กลับมาฝึกงานที่สถานที่ตั้งโรงเรียนชั้วคราวประตูน้ำ การเรียนการสอนเป็นไปด้วยความยากลำบากเนื่องจากระยะทางระหว่างสถานที่เรียน ภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎีอยู่ไกล ลำบากต่อการเดินทางของนักเรียน ทำให้การเรียนการสอนไม่ประสบความสำเร็จ โดยได้ทำการเรียนการสอนอยู่เพียง 3 เดือนเศษ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2487 โรงเรียนช่างกลปทุมวันได้ไปขอที่ดินของนายทองห่อ เซ็งสุทา ก่อสร้างสถานที่เรียนชั่วคราว ที่ซอยสามมิตร จนสิ้นปีการศึกษา 2487
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
พ.ศ. 2488 สงครามสงบ ญี่ปุ่นเป็นผู้แพ้สงครามในขณะนั้นประเทศไทยได้ถูกพิจารณาจากฝ่ายชนะสงคราม (สหรัฐอเมริกา) ให้เป็นประเทศที่จำยอมอยู่ในสภาวะประกาศสงครามโดยการถูกบังคับ เนื่องจากญี่ปุ่นต้องการเอาประเทศไทยเป็นทางผ่าน กลุ่มคนอีกจำนวนหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า เสรีไทย ก็เป็นคนกลุ่มหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยไม่ต้องตกเป็นประเทศผู้แพ้้สงครามและในการครั้งนั้น นักศึกษาของโรงเรียนช่างกลปทุมวันก็มีส่วนร่วมในการช่วยเหลืออย่างมากในปีเดียวกันนั้นโรงเรียนช่างกลปทุมวัน ก็ยังมิได้ย้ายกลับมาทำการสอนที่เดิม เนื่องจากทหารของฝ่ายสหประชาชาติยังคงเข้ายึดครองต่อจากญี่ปุ่น จึงต้องย้ายไปทำการสอนอยู่ที่สถานที่เรียนชั่วคราวที่บริเวณประตูน้ำ จนสิ้นสุดปีการศึกษา พ.ศ. 2488 วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2489 โรงเรียนได้กลับมาเปิดการสอนที่เดิม คือบริเวณหน้าสนามกีฬาแห่งชาติหรือวังของสมเด็จกรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ โดยในปีเดียวกันนี้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ได้สำเร็จการศึกษาเป็นรุ่นแรกหลังสงครามโลก โรงเรียนช่างกลปทุมวัน ได้ทำการสอนในปีการศึกษา 2490 เมื่อวันที่ี่ 17พฤษภาคม การกลับมาในครั้งนี้ โรงเรียนช่างกลปทุมวันต้องพบกับงานหนัก เนื่องจากต้องบูรณะซ่อมแซมในส่วนที่ชำรุด และปรับปรุงสถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักรที่ชำรุดเสียหายเนื่องจากการยึดครองของกองทัพทหารญี่ปุ่นและกองทัพทหารฝ่ายสหประชาชาติเข้ายึดครอง โดยได้รับเงินชดเชยค่าเสียหายเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 150,000 บาท เงินจำนวนนี้ได้จ้างเหมาทำการทาสีตัวอาคารโรงเรียน โรงงาน และทำการซ่อมแซมประตูหน้าตางที่ชำรุดรวมเป็นเงิน 62,300 บาทส่วนที่เหลืออีก 89,900 บาท โรงเรียนได้รับอนุมัติจากกรมอาชีวศึกษาให้ทำการซ่อมโรงงานและบริเวณอื่น ๆ กิจกรรมของโรงเรียนได้เจริญขึ้นมาตามลำดับในความอำนวยการของ นายนาวาตรีหลวงประพรรดิ์จักรกิจ ร.น. อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนได้รับงานการค้ามาให้นักเรียนได้ฝึกหัดและหารายได้มาบำรุงการศึกษา นับแต่ปีพศ. 2490 เป็นต้นมา โรงเรียนได้รับงานการค้าเกี่ยวกับองค์การรัฐบาล ดังต่อไปนี้ คือ
1. ประกอบรถยนต์ฟอร์ดของบริษัท แองโกลไทยมอเตอร์ 450 คัน
2. ซ่อมรถยนต์ของ อ.ส.จ. 130 คัน
3. ซ่อมเรือของ อ.ส.จ.
4. ซ่อมการประปากรุงเทพ สร้างสูบน้ำ 3 เครื่อง
5. ซ่อมการไฟฟ้านครหลวงสามเสน โดยใช้แรงงานของนักเรียน
6. ซ่อมและทำส่วนประกอบสะพานพุทธยอดฟ้า
7. ทำส่วนประกอบรถไฟของโรงงานมักกะสัน
8. ทำส่วนประกอบรถไฟฟ้ากรุงเทพ
พ.ศ. 2497 เยาวชนให้ความสนใจเกี่ยวกับวิชาชีพทางการช่างกลเป็นจำนวนมาก จนทำให้จำนวนนักศึกษาเพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี โรงเรียนช่างกลปทุมวันจึงต้องขยายโรงเรียน ได้ทำเรื่องเสนอไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ขอซื้อที่ดินบริเวณใกล้เคียงซื้อในนามของกระทรวงศึกษาธิการอีกประมาณ 7 ไร่ และสร้างอาคารเรียนไม้ 3 ชั้น 18 ห้อง ซึ่งเป็นห้องเรียนที่ได้มาตรฐาน
ในปีนี้ท่านอาจารย์ สิทธิผล พลาชีวิน ได้เข้ามาเป็นอาจารย์ใหญ่ ที่ช่างกลปทุมวัน ( ปีพศ.2499 ได้เกิดแก๊งค์อันตพาน นักเลงหัวไม้ขึ้นจำนวนมาก มีชื่อเป็นที่รู้จักเช่น แดง ไบเล่ ,แหลม สิงห์ , ปุ๊ ระเบิดขวด ทำให้เกิดการยกพวกเข้าตะลุมบอน ไล่ตี ไล่ยิงกันเป็นประจำ ช่วงนั้นก็มีนักเรียนช่างกลฯ ที่เกเรรวมอยู่ด้วย ต่อมาในปี พศ. 2500 นักเรียนช่างกลปทุมวันได้สมญานามว่า นายร้อยเจริญผล แห่งปทุมวัน )จากนั้นอีก 14 ปี ต่อมา กระทรวงศึกษาธิการได้เร่งรัดพัฒนาการศึกษาด้านอาชีวศึกษาโดยวางแผนพัฒนา โครงการเงินกู้เพื่อปรับปรุงโรงงาน เครื่องมือเครื่องจักรและรวมถึงการพัฒนาบุคลากร โดยส่งครู อาจารย์ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศในราวปี พ.ศ. 2511 พ.ศ.2513โรงเรียนช่างกลปทุมวันมีความพร้อมที่พร้อมจะพัฒนายกระดับการศึกษา ให้สูงขึ้นกระทรวงศึกษาธิการจึงพิจารณาโดยปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้เปิดสอนใน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และเปิดรับนักศึกษารอบบ่ายเป็นครั้งแรก เปิดหลักสูตรวิชาช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า และช่างวิทยุุโทรคมนาคม และต่อมา พ.ศ. 2514 ได้เปิดรับนักศึกษาภาคบ่ายเพิ่มอีก 2 แผนกวิชา คือ ช่างกลโรงงาน และช่างเชื่อมโลหะ
ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2513 ถนนพระราม 1 หน้าสนามกีฬาแห่งชาติ มองเห็นโรงเรียนช่างกลปทุมวันอยู่ทางขวามือ
วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน
พ.ศ. 2517 กระทรวงศึกษาธิการให้ยกฐานะโรงเรียนช่างกลปทุมวันเป็น วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน และเปิดสอนในระดับที่สูงขึ้น คือเปิดสอนในระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง (ปวส) ครั้งแรก เปิดสอนระดับ ปวช. ตามปกติ อีก 3 ปีต่อมา พ.ศ. 2519 ก็ทำการเปิดสอนในระดับ ปวส เพิ่มอีก 2 แผนกวิชา คือ ช่างกลโรงงาน และช่างโลหะแผ่น
วิทยาลัยช่างปทุมวันมีการพัฒนามาเป็นลำดับ และในปีพศ. 2524 กระทรวงศึกษาธิการได้เล็งเห็นว่า วิทยาลัยช่างปทุมวันเป็นสถานศึกษาแหล่งรวมความรู้ทางด้านชางชั้นสุงสมควรพัฒนาระดับการศึกษาให้สูงขึ้น เพื่อเป็นแกนนำของการพัฒนาด้านวิชาชีพ จึงให้วิทยาลัยช่างกลปทุมวันทำการสอนเฉพาะหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง แต่เพียงหลักสูตรเดียว
ยุคแห่งโลกาภิวัตน์
ในช่วงปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา กระทรวงศึกษาธิการ กรมอาชีวศึกษาหลายแห่งต้องประสบปัญหาการขาดแคลนครู-อาจารย์ผู้ทำการสอนเป็น จำนวนมาก ในสถานศึกษาหลายแห่งสถานศึกษาที่กล่าวในที่นี้คือสถานที่เปิดสอนหลักสูตร ด้านช่างเหมือนกับวิทยาลัยช่างกลปทุมวันซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยมีชื่อนำว่าวิทยาลัยเทคนิค และตามหลังด้วยชื่อจังหวัด เช่น วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ เป็นต้น จำเป็นต้องจ้างครู-อาจารย์จ้างสอนเป็นจำนวนมาก ปัญหามาจากข้าราชการครูจำนวนหนึ่งลาออกไปทำงานในภาคเอกชน กรมอาชีวศึกษาให้วิทยาลัยช่างกลปทุมวันเป็นผู้แก้ไขปัญหานี้ โดยวิทยาลัยช่างกลปทุมวันผลิตกำลังบุคลากรขึ้นมาทดแทนทำการเปิดสอนในหลัก สูตรประกาศนียบัตรเทคนิคครูชั้นสูง ใช้ชื่อย่อว่า ปทส. (เป็นหลักสูตรที่เทียบเท่าปริญญาตรี เคยเปิดสอนมาสมัยหนึ่งก่อนที่จะมีหลักสูตรปริญญาตรีที่สถาบันเทคโนโลยีพระ จอมเกล้า ธนบุรี ใช้เวลาเรียน 3 ปี เมื่อจบหลักสูตรจะได้รับอัตราเงินเดือนสูงกว่าปริญญาตรี 1 ขั้น ต่อมาได้หันไปเปิดหลักสูตาปริญญาตรีแทน) วิทยาลัยช่างกลปทุมวันนำหลักสูตรดังกล่าวมาพัฒนานำให้ตรงกับความต้องการ และเปิดสอนเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2533 ใช้เวลาในการศึกษา 2 ปี โดยผู้เรียนจะต้องมีพื้นความรู้โดยสำเร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรงวิชาชีพชั้น สูง (ปวส.) มาแล้ว หลักสูตร ปทส. เป็นหลักสูตรเทียบเท่าปริญญาตรี ได้รับอนุญาตให้ใช้เปิดสอนโดยได้การยอมรับจากกระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย และคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน กพ. ได้ตีค่าเงินเดือนให้เทียบเท่าปริญญาตรีและในปีเดียวกันนี้ยังได้สนองตอบต่อ ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานราชการที่ต้องการผู้ที่มีความรู้ทาง ด้านพลังงาน ซึ่งกำลังเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต และเป็นการขยายการศึกษาอีกด้วย เปิดทำการสอนสาขาวิชาเทคนิคเคมีอุตสาหกรรม รับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปีที่ 6 เข้าศึกษาต่อ 2 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาได้วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) เปิดทำการสอนได้ 1 รุ่น ประสบปัญหาขาดแคลนครูผู้สอน จึงแก้ปัญหาโดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำนักศึกษาที่จบการศึกษาตามหลักสูตรดังกล่าว เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี (เป็นนักศึกษาทุน)พ.ศ. 2535 ได้มีนักศึกษาสำเร็จการศึกษาระดับเทียบเท่าปริญญาตรี หรือหลักสูตรประกาศนียบัตรเทคนิคครูชั้นสูงจำนวน 70 คน และได้รับการบรรจุเข้าเป็นข้าราชการครูทั้งหมด ซึ่งสามารถผ่อนเบาปัญหาการขาดแคลนครู อาจารย์ให้ลดลงตามลำดับ อีกทั้งยังช่วยให้การขยายการศึกษาทางสายอาชีพได้เป็นอย่างมาก โดยที่กรมอาชีวศึกษาได้เปิดสถานศึกษาใหม่ กระจายสู่ระดับอำเภออีกหลายแห่งใช้ชื่อว่าวิทยาลัยการอาชีพและวิทยาลัย สารพัดช่าง (ต่อท้ายด้วยชื่ออำเภอ เช่น สารพัดช่างพระนคร เป็นต้น) ส่งผลดีต่อการยกระดับการศึกษาของไทยในปี พ.ศ. 2535 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) มีวัตถุประสงค์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมข้อหนึ่งความว่า "ปรับปรุงและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และมาตรฐานการครองชีพให้สูงขึ้น" กระทรวงศึกษาธิการจึงได้มอบนโยบายสนองต่อแผนพัมนาเศรษฐกิจให้วิทยาลัยนำไป ขยายผล ในฐานะที่เป็นสถานศึกษาแนวหน้า วิทยาลัยช่างกลปทุมวันซึ่งเป็นสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการมีหน้าที่ผลิตกำลังคนเข้าสู่ตลาดแรงงานอุตสาหกรรม ได้รับงบประมาณจำกัด ไม่สามารถจะจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์การศึกษาที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ในระดับสูง จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการขอความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์การศึกษาแบบให้เปล่า จากประเทศญี่ปุ่น โดยรัฐบาลญี่ปุ่นได้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญ มาศึกษาสำรวจข้อมูลความเป็นไปได้ของโครงการ ณ วิทยาลัยช่างกลปทุมวันเมื่อเดือนมีนาคม และเดือนกันยายน 2534 จากการสำรวจดังกล่าวรัฐบาลญี่ปุ่นได้อนุมัติให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่า ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์การศึกษา ซึ่งมีมูลค่า 123.6 ล้านบาท ในปีเดียวกันนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้มอบงบประมาณให้กับวิทยาลัยจำนวนหนึ่ง เพื่อจัดสร้างอาคารปฏิบัติการ 6 ชั้น จำนวน 36 ห้อง ขึ้น 1 หลัง เพื่อรองรับเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่นนอก จากนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นยังให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการแก่วิทยาลัยช่างกล ปทุมวัน (Technical Coperation) สนับสนุนให้เปิดสาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ เป็นหลักสูตรปริญญาตรี ซึ่งเปิดเป็นแห่งแรกในเมืองไทย ได้มีการลงนามสัญญาให้ความช่วยเหลือดังกล่าวเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2536 โดยเล็กเห็นว่า สาขาวิชาดังกล่าวเป็นวิทยาการสมัยใหม่ กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ศึกษาทางด้านวิศวกรรมที่มีการผสมผสานความรู้เข้าไว้ด้วยกัน ทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรม ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เข้าด้วยกัน (Mechanics + Electronics = Mechatronics) และเป็นการนำเอาวิทยาศาสตร์ทางด้านคอมพิวเตอร์เข้ามาควบคุมการทำงานของระบบ หรือ ที่เรียกกันว่า "ระบบโรงงาน อัตโนมัติ" Factory Automation System หมายถึง โรงงานที่มีความเป็นอัตโนมัติอย่างสมบูรณ์แบบ ในด้านทำงานระหว่างคนกับเครื่องจักรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด รับนักศึกษาครั้งแรกเมื่อปีการศึกษา 2537 และจะสำเร็จการศึกษาเป็นรุ่นแรกในปีการศึกษา 2540
ที่ รล. 0003/12644 สำนักราชเลขาธิการ
พระบรมมหาราชวัง กทม. 10200
24 กรกฏาคม 2540
เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน ว่า "ปทุมวัน"
เรียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
อ้างถึง หนังสือ ศธ 0911/6694 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2540
ตามที่ท่านได้มีหนังสือของให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานชื่อวิทยาลัยช่างกลปทุมวันใหม่ เพื่อจักได้ดำเนินการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันเปิดสอนในระดับปริญญาตรี โดยมีรูปแบบการดำเนินงานเป็นอิสระ ขึ้นตรงต่อกรมอาชีวศึกษา เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาลงมติเห็นชอบด้วย ความแจ้งอยู่แล้วนั้น ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า "ปทุมวัน"
(หม่อมหลวงพีรพงศ์ เกษมศรี)
ราชเลขาธิการกองการในพระองค์
โทร. 2253457-62 ต่อ 2310
โทรสาร 224-3259
บทสรุปของประวัติโรงเรียนช่างกลแห่งแรกของประเทศไทย
โรงเรียนช่างกลแห่งแรกของประเทศไทยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๔๗๕ ในนาม โรงเรียนอาชีพช่างกล ณ ตึกพระคลังข้างที่ ตรอกกัปตันบุช สีลม บางรัก กรุงเทพมหานคร โดยคณะ นายทหารเรือนำโดย น.อ. พระประกอบกลกิจ ร.น. ด้วยเหตุผลที่ต้องการให้ปลูกฝังอาชีพช่างให้กับเยาวชนไทย อีกสองปีต่อมาคือในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ โรงเรียนอาชีพช่างกล จึงย้ายไปตั้งแทนที่กรมแผนที่ทหารบก ซึ่งได้ย้ายไปจากบริเวณท่าเรือ โรงเรียนราชินีล่าง จนปีต่อมาได้โอนโรงเรียนอาชีพช่างกลมาอยู่ในสังกัดกระทรวงธรรมการ เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พร้อมชื่อโรงเรียนใหม่ว่า โรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกล และในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ได้มีการดำเนินการเช่าที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นวังของ กรมพระสวัสดิ์วัฒนาวิสิฐ เดิม ตรงข้ามสนามกีฬาแห่งชาติ มีเนื้อที่ประมาณ ๑๘ ไร่ ได้จัดสร้างอาคารเรียน ๑ หลัง โรงฝึกงานอีก ๘ หลัง แล้วย้ายโรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกลมาอยู่ที่โรงเรียนใหม่นี้ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๔๘๒ ตั้งชื่อโรงเรียนใหม่ว่า อาชีวศึกษาชั้นสูงแผนกช่างกล และเป็น ช่างกลปทุมวัน มาจนทุกวันนี้
ในระหว่างเกิด สงครามมหาเอเซียบูรพา ทหารญี่ปุ่นประมาณ ๑๐๐ คน ได้เข้ายึดโรงเรียนช่างกลปทุมวัน เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๔๘๕ เวลา ๑๙.๐๐ น. ปีการศึกษา ๒๔๘๔ ทางโรงเรียนจึงได้อพยพนักเรียนไปอาศัยเรียนที่โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ จนจบปีการศึกษา ๒๔๘๔ ต่อมาในวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๔๘๕ ได้ย้ายไปทำการสอนที่เชิงสะพานเฉลิมโลก ประตูน้ำปทุมวัน ซึ่งเป็นโรงเรียนการช่างอินทราชัยในขณะนั้น และในระหว่างเกิดสงครามนั้น โรงเรียนช่างกลปทุมวันได้ส่งนักเรียนแผนกช่างยนต์ปีสุดท้ายจำนวน ๓๒ คนและคุณครูอีกสองท่านไปช่วยงานด้านการซ่อมพาหนะที่แนวหน้ากองทัพสนามภาคพายัพของกระทรวงกลาโหม เมื่อสงครามสงบ กองทัพทหารสหประชาชาติ ได้เข้ายึดโรงเรียนช่างกลปทุมวันคืนจากญี่ปุ่นได้ นักเรียนจึงได้กลับมาเรียนที่ช่างกลปทุมวันดังเดิม
พ.ศ. ๒๕๑๑
โรงเรียนช่างกลปทุมวัน ได้อยู่ในการพัฒนาอาชีวศึกษา ตามแผนโครงการเงินกู้เพื่อปรับปรุงโรงงาน เครื่องมือ เครื่องจักร และส่งครูอาจารย์ฝึกงานและดูงานต่างประเทศ
พ.ศ. ๒๕๑๘
โรงเรียนช่างกลปทุมวัน ได้ยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน เปิดสอนหลักสูตร ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
พ.ศ. ๒๕๒๔
วิทยาลัยช่างกลปทุมวันเปิดสอนเฉพาะหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
พ.ศ. ๒๕๓๓
วิทยาลัยช่างกลปทุมวันเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.)
พ.ศ. ๒๕๔๑
วิทยาลัยช่างกลปทุมวันได้ยกฐานะเป็นสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ตามพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี
ขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ที่ได้รับข้อมูลนี้ และขอมอมเคดิตนี้ให้กับผู้จัดทำประวัติ โรงเรียนช่างกลปทุมวัน
ชมรมศิษย์เก่านักเรียนนายเรือสัมพันธ์ Naval Cadet Alumni Relation Club
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น